วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551

ทุนเรียนฟรีเพื่อที่จะเรียนต่ออเมริกา: Fulbright Scholarship

หนึ่งในทุนเรียนฟรีเพื่อที่จะเรียนต่อเมริกาคือทุน Fulbright Scholarship ซึ่งเป็นทุนที่ Thailand‑United States Educational Foundation (Fulbright) ได้ประกาศใหุ้ทุนฟรีแก่ชาวไทยในการไปเรียนต่อในระดับปริญญาโทที่อเมริกา 1 ปี ในสาขาใด ๆ ยกเว้น แพทย์ สาธารณสุข พยาบาล และสาขาที่ใกล้เคียงกับสาขาเหล่านี้

แต่ละปีทาง Fulbright จะกำหนดเปิดรับสมัครตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ข้อควรระวังคือจะต้องสอบ TOEFL ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีนั้น และย้อนหลังไปได้ไม่เกิน 2 ปี นอกจากนี้มีเงื่อนไขบางอย่างที่ควรรู้ เช่น ถ้าสมัครสอบในปี ค.ศ. 2008 ก็จะต้องสอบ TOEFL ในช่วงมีนาคม 2006 - กุมภาพันธ์ 2008 และจะต้องสอบได้คะแนน iBT อย่างน้อย 80 คะแนน หรือ คะแนน TOEFL ที่เป็น computer-based อย่างน้อย 213 หรือคะแนน TOEFL ที่เป็น paper-based อย่างน้อย 550 และจะต้องได้เกรดเฉลี่ยอย่างน้อย 3.0

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Thailand‑United States Educational Foundation

วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2551

เคล็ดลับ 10 ประการในการเข้าเอ็มบีเอของสถาบันระดับท็อปเทน

จากการอ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 9 เมษายน 2551 ในคอลัมน์ "พี่ 'คนเก่ง' สอนน้อง ปิยะ ซอโสตถิกุล" ซึ่งเขียนด้วยคุณชนิตา ภระมรทัตนั้น พบว่า

มีข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อคนที่สนใจที่จะเรียนต่อเอ็มบีเอโดยเฉพาะที่ต่างประเทศ เช่น ประเทศอเมริกา จึงขอสรุปเคล็ดลับของคุณปิยะ ซอโสตถิกุล ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จบการศึกษาปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์ (เคมี) จากเอ็มไอที และปริญญาโทเอ็มบีเอจาก ฮาร์วาร์ด (ด้วยทุนของธนาคารกรุงเทพ) เคยทำงานที่ "โกลด์แมน แซคส์" และล่าสุดได้รับรางวัล "The Asian Banker Promising Young Banker Award for Asia Pacific Region 2007" ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับผู้บริหารรุ่นใหม่อายุไม่เกิน 40 ปี โดยมี The Asian Banker รีเสริช์เฮาส์ของภูมิภาคเป็นผู้คัดเลือก

คุณปิยะได้บรรยายพิเศษเรื่อง "10 เคล็ดลับการเข้าหลักสูตรเอ็มบีเอ ของสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลก" สรุปได้ดังนี้ว่า
1) จีพีเอ หรือ เกรด เ็อ็มบีเอไม่สนใจว่าต้องเรียนจบมาจากคณะอะไร ถ้าเกรดไม่ดี ก็ต้องทำคะแนนจีแมทให้สูง และจะให้ความสำคัญกับคะแนนจีแมทมากกว่าเนื่องจากคะแนนจีแมทถือว่ามีมาตรฐานระดับสากล
2) กลยุทธ์ของการเลือกสถาบันที่จะเรียนคือ 4-3-2 รวมกันเป็น 9 หมายถึงให้สมัคร 9 สถาบัน โดยตัวเลข 4 นั้นหมายถึงให้สมัครกับสถาบันชื่อดังสุดๆ เผื่อฟลุ้คไว้ 4 แห่ง เลข 3 นั้นเป็นสถาบันที่ประเมินว่าอาจมีโอกาสเข้าได้ 50:50 ให้เลือกไว้ 3 แห่งและเลข 2 นั้นเป็นจำนวนที่ให้เลือกสถาบันที่เป็นไปได้แน่ๆ ถึง 90 เปอร์เซนต์เป็นแบ็คอัพกันพลาด
3) ประสบการณ์การทำงานซึ่งสำคัญมาก อย่างเช่น ฮาร์วาร์ดนั้นขอให้ผู้เรียนต่อมีประสบการณ์ทำงาน 3.7 ปีเป็นอย่างน้อย ซึ่งประสบการณ์จะแสดงถึงความเป็นผู้ใหญ่ที่จะสามารถแชร์ความคิดเห็นในคลาสได้
4) การเขียน Essay วิธีการเขียนต้องมีโครงสร้างดี มีลำดับขึ้นตอน มีครีเอทีฟแต่อย่าถึงขั้น "หลุดโลก" และอย่าเขียนเกินจำนวนคำที่เขากำหนดไว้
5) การสัมภาษณ์ คุณปิยะแนะว่า ต้องมีการเช็คข้อมูลของสถาบันการศึกษาที่เราสมัครเรียนเป็นอย่างดีซึ่งสามารถทำผ่านเว็บไซต์ และก่อนเข้าสัมภาษณ์ ควรฝึกซ้อมกับเพื่อนๆ ต้องเปิดหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลและไฟแนนเชียลไทมส์่อ่านข่าวเด่นประเด็นร้อนทั่วโลก และต้องไปถึงก่อนเวลานัดประมาณ 30 นาที
6) CV และ Resume เพื่อเล่าประวัติของตัวเราเอง และต้องมีตัวเลขประกอบเพื่อยืนยันและให้มีน้ำหนักเสมอ
7) จีแมท ความสำเร็จมักเกิดจากวินัยที่มีการฝึกฝนทุกๆ วัน แต่ไม่ต้องถึงขึ้นหยุดงานเพื่อมามุ่งจีแมท ซึ่งคนส่วนใหญ่ๆ มักจะทำผิดข้อซ้ำๆ ซึ่งหากมีการฝึกผนจะทำให้เราแก้โจทย์ได้ในเวลาที่น้อยลงด้วย
8) การทำกิจกรรม เพราะโลกสมัยนี้ไม่ต้องการให้คนเรียนเก่งอย่างเดียว แต่อยากให้รู้รอบด้าน ซึ่งล้วนผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ
9) การให้คำรับรอง (ว่าดี) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดอ่อนของนักเรียนไทยมากที่สุด เหตุผลก็เพราะเจ้านายคนไทยมักเขียนการรับรองไม่เป็น อีกทั้งคนไทยส่วนใหญ่มักให้คนใหญ่คนโตเขียนรับรองให้ ขณะที่ความเป็นจริงต้องให้เจ้านายใกล้ชิดหรือคนที่รู้จักเรามากที่สุดเป็นผู้เขียน
10) ในข้อนี้อาจต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ เพราะคุณปิยะบอกว่ามนุษย์เราก็ยังต้องพึ่งการ "Pray" เก่งแล้วยังต้องเฮงด้วย เขาแนะนำสถานที่ศักดิ์็สิทธิ์ไว้ให้ยึดเหนี่ยวจิตใจ 4 แห่งคือ วัดพระแก้ว วัดแขก พระพรหม และศาลเจ้าโจวซือกง (วัดน้อย) ซึ่งตัวเขาเองได้บน "พระพรหม" เพื่อให้สอบติดฮาร์วาร์ด ซึ่งก็มีการแก้บนโดยการ "บวช" ในที่สุด

คุณปิยะพูดว่า แม้ว่าเขาประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ต้องคิดอยู่เสมอว่ายังไม่สำเร็จเพื่อไม่ชะล่าใจ ทุกวันนี้เขาจึงไม่เคยหยุดอยู่กับที่ แต่จะทำให้ตัวเองเกิดความหิวเพื่อแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดอยู่เสมอ

เป็นเรื่องที่ทุกคน "ทำได้" โดยไม่ต้องรอโชคชะตา